top of page

แสงสว่างกับการฆ่าเชื้อรา และแบคทีเรีย

รังสี UV คืออะไร

แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ประกอบด้วยรังสี 2 ส่วนคือ รังสีที่มองเห็นได้และมองไม่เห็นรังสีที่มองเห็นได้ จะมี 7สี แต่จะสามารถเห็นต่อเมื่ออากาศมีความชื้นสูง รังสีจากดวงอาทิตย์ตกกระทบกับน้ำในอากาศ เราจะสามารถมองเห็นสีทั้ง 7 ได้ ที่เรียกว่า “รุ้งกินน้ำ” นั่นเอง รังสีที่มองไม่เห็น คือพลังงานในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากดวง อาทิตย์ มี 2 ส่วนคือ


สำหรับครอบครัวที่มีลูกเล็กๆ ส่วนใหญ่การทำความสะอาดขวดนม จะใช้วิธีการต้ม หรือนึ่ง โดยเป็นการฆ่าเชื้อโรคด้วยความร้อนสูง ซึ่งเหมาะกับพาชนะที่เป็นแก้ว หรือซิลิโคน ส่วนขวดนมแบบพลาสติกการใช้ความร้อนสูงมากๆ ทุกวันจะทำให้ขวดนมพลาสติกและจุกนมเสื่อมสภาพเร็วขึ้นกว่าปกติ และเกิดการปล่อยสารต่างๆ ออกมาจากพลาสติกนั้น เช่น สารพวกโพลีเมอร์ หรือฟอร์มัลดีไฮด์ปนเปื้อนออกมาจากพลาสติกที่เสื่อมสภาพ แถมยังทิ้งไอน้ำไว้ที่ก้นขวด ซึ่งไอน้ำนี้อาจมีเชื้อแบคทีเรียแฝงอยู่


ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้มีการคิดค้นการฆ่าเชื้อโรค โดยรังสี UV ที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้กับหลากหลายผลิตภัณฑ์ เช่น ขวดนมพลาสติก ยางกัด จานชาม หรือแม้แต่อุปกรณ์อเลกทรอนิก มาทำความรู้จักกับ หลอดรังสี UV-C ที่หลายคนสงสัยว่า ฆ่าเชื้อโรคได้จริงไหม?


รังสี UV ฆ่าเชื้อโรคได้จริงหรือ?

สำหรับครอบครัวที่มีลูกเล็กๆ ส่วนใหญ่การทำความสะอาดขวดนม จะใช้วิธีการต้ม หรือนึ่ง โดยเป็นการฆ่าเชื้อโรคด้วยความร้อนสูง ซึ่งเหมาะกับพาชนะที่เป็นแก้ว หรือซิลิโคน ส่วนขวดนมแบบพลาสติกการใช้ความร้อนสูงมากๆ ทุกวันจะทำให้ขวดนมพลาสติกและจุกนมเสื่อมสภาพเร็วขึ้นกว่าปกติ และเกิดการปล่อยสารต่างๆ ออกมาจากพลาสติกนั้น เช่น สารพวกโพลีเมอร์ หรือฟอร์มัลดีไฮด์ปนเปื้อนออกมาจากพลาสติกที่เสื่อมสภาพ แถมยังทิ้งไอน้ำไว้ที่ก้นขวด ซึ่งไอน้ำนี้อาจมีเชื้อแบคทีเรียแฝงอยู่


ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ได้มีการคิดค้นการฆ่าเชื้อโรค โดยรังสี UV ที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้กับหลากหลายผลิตภัณฑ์ เช่น ขวดนมพลาสติก ยางกัด จานชาม หรือแม้แต่อุปกรณ์อเลกทรอนิก มาทำความรู้จักกับ หลอดรังสี UV-C ที่หลายคนสงสัยว่า ฆ่าเชื้อโรคได้จริงไหม?



รังสี UV คืออะไร

แสงสว่างจากดวงอาทิตย์ประกอบด้วยรังสี2 ส่วนคือ รังสีที่มองเห็นได้และมองไม่เห็นรังสีที่มองเห็นได้ จะมี 7สี แต่จะสามารถเห็นต่อเมื่ออากาศมีความชื้นสูง รังสีจากดวงอาทิตย์ตกกระทบกับน้ำในอากาศ เราจะสามารถมองเห็นสีทั้ง 7 ได้ ที่เรียกว่า “รุ้งกินน้ำ” นั่นเอง รังสีที่มองไม่เห็น คือพลังงานในรูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่แผ่ออกมาจากดวง อาทิตย์ มี 2 ส่วนคือ

1. รังสี UV หรือ Ultra Violet (อัลตราไวโอเลต) ทำให้เกิดการเผาไหม้

2. รังสี Infrared (อินฟาเรด ) ทำให้เกิดความร้อน


ระดับความเข้มของรังสี UV แบ่งตามความเข้มข้นได้ 3 ระดับคือ

รังสี UV-A ระดับความเข้มข้นต่ำสุด ถูกดูดซึมไปในชั้นบรรยากาศเล็กน้อยรังสี UV-B ระดับความเข้มข้นปานกลาง ถูกดูดซึมไปบางส่วนรังสี UV-C ระดับความเข้มข้นสูงสุด ถูกดูดซึมไปในชั้นบรรยากาศเกือบหมด ไม่ค่อยหลงเหลือลงมาสู่พื้นโลก


รังสี UV สามารถฆ่าเชื้อได้อย่างไร

เนื่องจากรังสี UV-C เป็นรังสีที่เป็นอันตรายเพราะมีความสามารถในการเผาไหม้สูง นักวิทยาศาสตร์จึงนำมาประยุกต์ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคที่เป็นอันตรายหลอดสังเคราะห์รังสี UV-C คือ หลอดไฟชนิดพิเศษที่สังเคราะห์รังสี UV-C เลียนแบบธรรมชาติเพื่อสำหรับการฆ่าเชื้อโรค มีชื่อเรียกทางวิทยาศาสตร์ว่า Germicidal Lamp (เจิมมิไซโดล แลมป์) หรือเรียกสั้นๆ ว่าหลอด UV


การนำรังสี UV มาประยุกต์ใช้งานภาคอุตสาหกรรม

1. สถานที่สาธารณะ ที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมากหรืออยู่เป็นเวลานาน เช่นห้องเรียน, ค่ายทหาร, โรงภาพยนตร์, หอประชุม, ห้องรับรอง,สำนักงาน ให้ติดตั้งหลอดUVGI ในท่อฆ่าเชื้อโรคในอากาศ,ท่อปรับสภาพอากาศ

2. โรงพยาบาล ตึกคนไข้, ห้องตรวจ, ครัว, ที่เก็บเครื่องมือผ่าตัดและอุปกรณ์ของใช้ต่างๆ อาหารและเครื่องดื่ม ทั้งขั้นตอน ขณะผลิต, บรรจุหีบห่อ,จัดเก็บ

3. อุตสาหกรรมการผลิตเวชภัณฑ์ รวมถึง สารปฏิชีวนะ ยา และเครื่องสำอาง

4. การป้องกันสัตว์ป่วย ใช้กับเรือนปศุสัตว์, คอก, ฟาร์ม, เล้า, กรงขัง รวมไปถึงสวนสัตว์ได้

5. ห้องทดลอง และเครื่องมือทดลองต่างๆ

6. โรงงานผลิตน้ำดื่มบรรจุขวด Water


ประโยชน์จากการใช้รังสี UVในชีวิตประจำวัน มีอะไรบ้าง

การใช้รังสี UV ฆ่าเชื้อในอาหาร

การใช้รังสี UV ฆ่าเชื้อในระบบอากาศ

ปัจจุบันได้มีการพัฒนามาเป็น ตู้อบแห้งฆ่าเชื้อด้วยแสงยูวี ที่เป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดนึง ที่ทุกบ้านต้องมี โดยเฉพาะบ้านที่มีลูกเล็กๆ หรือผู้ป่วย ผู้ที่เป็นภูมิแพ้ ที่ต้องดูแลเรื่องความสะอาดเป็นพิเศษ

เพราะเชื้อโรคมีขนาดเล็กและซ่อนอยู่ในสิ่งต่างๆ รอบๆ ตัวเรา คุณพ่อคุณแม่อย่างเราจึงต้องจัดการกับเชื้อโรค ที่อาจจะมาปนเปื้อนอยู่ในสิ่งของเครื่องใช้ของเรา โดยเฉพาะกับของใช้ของลูกน้อยที่ยังไม่มีภูมิต้านทาน ซึ่งมีโอกาศป่วยจากการสัมผัสสิ่งปนเปื้อนได้ง่าย

Comments


bottom of page